สารคดี ชุด “มหากาพย์แห่งอโยธยา”
ทีมงานรังสิมันต์ได้รับเกียรติจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้จัดทำสื่อVCDประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี ๒๕๔๙ ซึ่งกรุงศรีอโยธยาหรือกรุงศรีอยุธยานั้น มีประวัติศาตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ถึง ๓๓ พระองค์ และมีพระราชวงศ์สืบเชื้อสายกันมาถึง ๕ ราชวงศ์ อันได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งหากจะแบ่งตามความรุ่งเรืองและตามยุคสมัยของกรุงศรีอยุธยา ตามแนวของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี สามารถที่จะแจงแบ่งได้ ๔ บท คือ
ปฐมบท อยุธยามหาชาติ เป็นเรื่องราวการสร้างอาณาจักรสยามและการตั้งอาณาจักใหม่ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) และเรื่องราวการรวบรวมอำนาจในแต่ละรัชกาลเพื่อความเป็นหนึ่งในเขตภูมิภาค
๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา
๒.สมเด็จพระราเมศวร
๓.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)
๔.สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ (พระเจ้าทองลัน)
๕.สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระรามราชา)
๖.สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑
๗.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
๘.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๙.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓
ทุติยบท อยุธยามหายุทธ เป็นยุคที่ต้องต่อสู้และแลกความเป็นเอกราช อธิปไตยของแผ่นดิน ในการปกป้องทั้งศึกภายในพระนครเมื่อแผ่นดินเป็นทุรยศ และการต่อสู้กับศึกนอกที่ต้องแลกกับเอกราชของอาณาจักร
๑๐.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
๑๑.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร)
๑๒.สมเด็จพระรัฏฐาธิราชกุมาร (พระรัษฏาธิราชกุมาร)
๑๓.สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระชัยราชา)
๑๔.สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)
๑๕.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช(พระมหาจักรพรรดิหรือพระเจ้าช้างเผือก)
๑๖.สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระมหินทรราชา)
๑๗.สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา)
๑๘.สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๑ (พระนเรศวรมหาราช)
ตติยบท อยุธยามหาศาล ยุคแห่งความรุ่งเรืองดั่งเมืองสวรรค์ของกรุงศรีอโยธยา จุดรังสรรค์กำเนิดของวรรณกรรม และความรุ่งเรืองทางด้านการค้ากับนานาอารยประเทศ รวมถึงแผ่นดินแห่งการเปิดประเทศในการเชื่อมต่อเจริญพระราชไมตรีกับมหามิตรต่างๆ
๑๙.สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๓ (พระเอกาทศรถ)
๒๐.สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๔ (พระศรีเสาวภาคย์)
๒๑.สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (พระเจ้าทรงธรรม)
๒๒.สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช)
๒๓.สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
๒๔.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ (พระเจ้าปราสาททอง)
๒๕.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย)
๒๖.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา)
๒๗.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (พระนารายณ์มหาราช
จตุรบท อยุธยามหาสมุทร เป็นยุคแห่งความเสื่อมและล่มสลายภายใต้คราบน้ำตาบนราชธานีอันยาวนาน ยุคแผ่นดินสิ้นเอกราช
๒๘.สมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา)
๒๙.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)
๓๐.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ)
๓๑.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกษฐ์)
๓๒.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (พระเจ้าอุทุมพร)
๓๓.สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ (พระเจ้าเอกทัศน์)
๓๔.สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสินมหาราช)