เรื่องย่อ “ขุนเหล็ก ภาค ๒”
เมื่อเจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็กได้นำทัพขึ้นไปตีหักเอาเมือง จิตตอง สิเรียม ย่างกุ้ง หงสาวดี แปร จนมาถึงพุกามเมืองหน้าด่านสุดท้ายของกรุงอังวะ มังจาเลราชบุตรแห่งพระเจ้ากรุงอังวะ ก็ได้เกณฑ์ไพร่พลจากกรุงอังวะมาตั้งรับทัพกรุงศรีอโยธยาเสียสิ้นแลได้ให้แม่ทัพนายกองยกทัพออกมาต่อรบ กองทัพไทยพยายามตีเอาเมืองพุกามหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ เนื่องด้วยชาวเมืองต่างก็ช่วยกันป้องกันกันเป็นสามารถ เจ้าพระยาโกษาธิบดีเห็นไพร่พลต่างก็อดอยากล้มเจ็บเสียเป็นอันมากแล้ว จึงถอยทัพกลับกรุงศรี เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จึงให้ทัพชาวเชียงใหม่ที่ติดตามไปด้วย เดินรั้งทัพอยู่เบื้องหลัง แลได้ให้เลิกทัพกลับไปโดยลำดับมารควิถี ตราบเท่าถึงเมืองหงสาวดี ก็ให้หยุดยั้งทัพอยู่ที่นั้น ในเพลานั้นเอง ฝ่ายแสนท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเดินรั้งทัพหลังเห็นว่าทัพกรุงศรีอโยธยาตีเมืองอังวะมิได้อย่างเด็ดขาด ก็บังเกิดความเกรงกลัวพระเจ้าอังวะ จึงปลีกตัวแยกทัพหนีไปทางเมืองเชียงใหม่ เมื่อความทราบถึงเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ จึงได้บัญชาให้พระยากำแพงเพชรแลพระยารามเดโช (ชู) นำไพร่พลเมืองเหนือจำนวนสองหมื่นคน ยกติดตามไปตีตอบใต้ถึงเมืองเชียงใหม่เมื่อสำเร็จจึงยกทัพกลับและได้นำตัวเครือฟ้าคนรักของเจ้าคุณทิปเดินทางกลับมายังกรุงศรีอยุธยาหลังจากนั้น ๑๐ ปีต่อมาที่เมืองตะนาวศรี ฟอลคอนเดิมเป็นชาวกรีกเมื่ออายุ ๑๖ ปีได้ถูกพ่อนำมาขายให้เป็นกลาสีเรือของชาวอังกฤษถึง๑๒ ปี ต่อมาได้รับการชักชวนจากสหาย คือ ริชาร์ดและไวท์ให้เข้ามาค้าขายและได้ลักลอบขายศาสตราวุธ ปืนไฟ และกระสุนดินดำให้กับพวกขบฏทางใต้แต่เรือได้เจอกับพายุจนเรือแตก ต่อมาพระยาสุรสงครามและฮาจิจึงมาพบเข้าและได้ช่วยเหลือเอาไว้และพาทั้งสามมาพบกับเจ้าพระยาโกษา(เหล็ก) ท่านเห็นว่าฟอลคอนผู้นี้เป็นกลาสีเรือของชาวอังกฤษมาหลายปีน่าจะรู้เล่ห์เหลี่ยมของชาววิลาสที่มาค้าขายน่าจะเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินจึงนำตัวเข้ามาช่วยดูแลบาญชีต่างๆจนได้รับความดีความชอบเนื่องด้วยสามารถจับผิดเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของพวกแขกมัวส์ได้ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงแต่งตั้งให้ฟอลคอลเป็นออกหลวงคอยช่วยงานเจ้าพระยาโกษาฯ(เหล็ก)และเป็นคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์ถึงกับได้ตามเสด็จพระองค์พร้อมด้วย เจ้าฟ้าน้อย(พระอนุชา) กรมหลวงโยธาเทพ(พระราชธิดา)ไปทอดพระเนตรการสร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีด้วย ต่อมาได้เกิดเรื่องมิงามขึ้นเมื่อศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงเกี่ยวพาราสีท้าวศรีจุฬาลักษณ์(พระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์) จนต้องถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช และต่อมาก็เกิดเรื่องที่ริชาร์ดและไวท์ได้ก่อเรื่องฉุดหญิงชาวบ้าน(กลิ่น) แต่คุณหลวงสรศักดิ์(ดื่อ)มาพบเข้าและช่วยเหลือไว้จนมีเรื่องชกต่อยกัน เมื่อเจ้าพระยาโกษาฯ(เหล็ก)สวนความแล้วพบว่าทั้งสองมีความผิดจริงจึงสั่งให้นำไปจำขังแต่ต่อมาทั้งสองก็ถูกปล่อยตัวเพราะฟอลคอนเป็นผู้ช่วยเหลือออกมา หลังจากนั้นก็เกิดเหตุที่ฮาจิและพวกแขกมัวส์แอบเอาเครื่องราชบรรณาการจากพระเจ้าสุไลมานและสมเด็จพระนารายณ์ไปขายและถูกจับได้โดยการทูลฟ้องจากฟอนคอล สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสั่งให้ลงราชทัณฑ์ฮาจิและพวกแขกมัวร์และทรงแต่งตั้งให้ฟอลคอลเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ที่พระสมุหนายกแทน ซึ่งต่อมาฟอลคอนก็ถูกคุณหลวงสรศักดิ์ชกต่อยจนสลบด้วยเหตุที่ไม่พอใจที่ฟอลคอนเกณฑ์เหล่าพระภิกษุสงฆ์มาสร้างป้อมปราการซึ่งเมื่อฟอลคอนเดินทางไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ถึงเมืองลพบุรีแต่พระองค์ก็ไม่ทรงลงทัณฑ์อันใดคุณหลวงสรศักดิ์ หลังจากนั้นมินานเจ้าฟ้าน้อยทรงถูกใส่ร้ายว่าแอบเป็นชู้กับท้าวศรีจุฬาลักษณ์(โดยการร่วมมือกันของพระปีย์และคนสนิทของท้าวศรีจุฬาลักษณ์)จนถูกลงพระราชทัณฑ์โบยโดยพระปีย์จนสลบแลเมื่อฟื้นขึ้นมาพระองค์ก็ถึงกับพิการส่วนท้าวศรีจุฬาลักษณ์ถูกนำตัวไปถูกน้ำโดยการตัดสินผิดโดยพระเพทราชา และต่อมาเจ้าพระยาโกษาฯ(เหล็ก)ก็ถูกสมเด็จพระนารายณ์สั่งให้ลงราชทัณฑ์เนื่องด้วยฟอลคอนมาเท็จทูลฟ้องว่าเจ้าพระยาโกษาฯ(เหล็ก)ได้รับสินบนจากชาวบ้านให้มาทูลขอให้ยกเลิกการสร้างป้อมปราการจนอาการสาหัสซึ่งในระหว่างนั้นได้มีคณะราชฑูตจากพระเจ้ากรุงปารีสเข้ามาถวายพระราชสาส์นเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีด้วย หลังจากนั้นเจ้าพระยาโกษาฯก็สิ้นชีวิตักษัยลงเนื่องจากแผลติดเชื้อและในเพลาต่อมาเจ้าคุณทิปก็ตรอมใจตายตามไปอีกคน เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้สูญเสียแม่ทัพเหล็กผู้เป็นเสาหลักแห่งกรุงศรีอโยธยาไปแล้ว ก็ทรงเศร้าโศกพระทัยเป็นยิ่งนัก ใคร่จักระงับพระราชหฤทัยด้วยทิพย์รสแห่งการกวี เป็นเหตุให้ทรงรำลึกถึงศรีปราชญ์รัตนกวีคู่พระทัยขึ้นมาได้ จึงทรงโปรดให้นำตัวเจ้าศรีปราชญ์คืนมายังกรุงศรีอโยธยา แต่หาได้ตัวกลับคืนมาไม่ ด้วยศรีปราชญ์ ได้ถูกเจ้าพระยานครกุมเอาตัวไปล้างเสียแล้ว จึงทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้พระยารามเดโช นำทัพไปกุมเอาตัวเจ้าพระยานครล้างเสียด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ใช้ประหารศรีปราชญ์เพื่อให้ตายตกไปตามกัน แลทรงโปรดให้พระยารามเดโช ได้ขึ้นเป็นที่เจ้าพระยารามเดโช อยู่รั้งเมืองศิริธรรมโศกราชนับแต่นั้น เถิงปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดแต่งตั้งให้ออกพระวิสูตรสุนทร หรือ ออกพระวิสูตรโกษา เป็นอัครราชฑูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรี เป็นอุปฑูต ออกขุนศรีวิสารวาจา เป็นตรีฑูต พร้อมด้วยผู้ติดตามอีก ๒๐ คน เชิญพระราชสาสน์แลเครื่องราชบรรณาการไปเจริญทางพระราชไมตรีตอบแทนพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งนับได้ว่า เป็นคณะราชฑูตแห่งกรุงศรีอโยธยา ที่ออกเดินทางไปฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ ๓ แต่ครานี้เป็นการจำเริญทางพระราชไมตรีได้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยมิเพียงแต่พระเจ้าหลุยส์เลอครังแห่งกรุงฝรั่งเศสจักทรงโปรดปรานในตัวอัครราชฑูต จนถึงกับโปรดให้เขียนรูปราชฑูตแลบันทึกถ้อยคำเป็นจดหมายไว้ทุกประการแล้วบรรดาเสนาบดีแลขุนนางน้อยใหญ่ รวมถึงบุตรธิดาของเสนาบดีทั้งหลาย ยังชื่นชอบในอัธยาศัยของพระวิสูตรสุนทรเป็นอันมาก การจำเริญทางพระราชไมตรีระหว่างกรุงศรีอโยธยาแลกรุงฝรั่งเศสในครานั้น จึงอาจถือได้ว่าเป็นการจำเริญทางพระราชไมตรีที่สำคัญที่สุดคราหนึ่งแห่งกรุงศรีอโยธยา