ขุนเหล็ก
ขุนเหล็ก คือ ทหารเอกคู่ใจแห่งเจ้าฟ้านารายณ์พระโอรสองค์รองของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ขุนเหล็กเป็นบุตรชายคนโตของพระนมบัวซึ่งมีชื่อสายวงศ์พระร่วงและเป็นพระนมเอกใน เจ้าฟ้านารายณ์ ขุนเหล็กมีน้องสาวคนรอง ชื่อ คุณแจ่ม และมีน้องชายคนเล็ก ชื่อคุณ คุณปาน เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ขุนเหล็กเป็นพระสหายสนิทที่ร่วมเรียน ร่วมเล่น และร่วมซ้อมดาบ ร่วมซ้อมขี่ม้ากับพระนารายณ์ และสหายคนอื่น ซึ่งต่อมาก็คือ ทหารเอกทั้ง 9ของเจ้าฟ้านารายณ์ ประกอบด้วย คุณทองคำ บุตรชายของพระนมเปรม เจ้าน้อย เจ้าชู และเจ้าสังข์ จนกระทั่งเข้าสู่วัยหนุ่ม ขุนเหล็กต้องเดินทางไปฝึกดาบและร่ำเรียนวิชาต่างๆกับ ครูเดช และเจ้าคุณชุ่มที่เมืองสวรรค์โลก จนเวลาล่วงเลยไปถึง 7ปี ขุนเหล็กได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆจนสำเร็จดีแล้ว และเมื่อได้รับสาส์นเรื่องที่พระสุธรรมราชาหมายที่จักชิงพระราชบัลลังก์จากการส่งข่าวของเจ้าปานแล้ว ขุนเหล็กจึงต้องเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาโดยทันที พร้อมด้วย เจ้าทิป บุตรชายออกยาเมืองสวรรคโลกที่มีความสามารถในเชิงทวนและเจ้าสอนเพื่อมาถวายตัวเป็นข้าในเจ้าฟ้านารายณ์ ต่อมาเมื่อสมเด็ดพระเจ้าปราสาททองได้เสด็จสู่สวรรณคาลัยและได้มอบพระขรรค์แสงไชยศรีให้เจ้าฟ้าไชยพระโอรสองค์โตเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินต่อจากพระองค์นั้น ก็สร้างความไม่พอพระทัยแก่พระสุธรรมราชาผู้เป็นพระอนุชาของพ่อเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก เช่นนั้นพระสุธรรมราชาจึงได้หารือกับเจ้าฟ้านารายณ์เรื่องที่จะชิงพระราชสมบัติจากเจ้าฟ้าไชยซึ่งในการครานั้นขุนเหล็กและข้าในเจ้าฟ้านารายณ์คนอื่นๆก็ร่วมปฏิบัติกิจในครั้งนี้จนสำเร็จ เมื่อพระสุธรรมราชาได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา พระองค์ก็ทรงไม่สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมได้และยังได้กระทำการอันไม่สมควรต่อพระราชกัลยาณีผู้ที่เป็นพระนัดดาในสายโลหิตเดียวกัน ซึ่งสร้างความไม่พอพระทัยต่อเจ้าฟ้านารายณ์เป็นอย่างมาก พระองค์จึงได้รับสั่งให้ ขุนเหล็กเรียกประชุมเหล่าขุนนางข้าราชการ เพื่อที่จะยกไพร่พลเข้าต่อตีชิงพระราชบัลลังก์จากพระศรีสุธรรมมาราชาคืน โดยที่พระองค์ได้ทรงเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแทนสืบต่อมา เมื่อกิจครานั้นผ่านไป เหล่าขุนนางข้าราชาการและขุนศึกทั้งหลายก็ได้เลื่อนยศด้วยกันทั้งสิ้น คือ พระนมบัวได้เลือนยศเป็น เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมเปรมเป็น ท้าวศรีสัจจา คุณทองคำ เป็นพระเพทราชา เจ้าสอนเป็น พระยาสุรสงคราม เจ้าทิปเป็น พระยาศรีหราชเดโชชัย มีเพียงขุนเหล็กเท่านั้นที่ยังไม่ได้รับการเลื่อนยศแต่อย่างใด แต่ขุนเหล็กก็ยังคงเป็นที่ปรึกษาของเจ้าฟ้านารายณ์เสมอมา ขุนเหล็กมีภรรยา1คนคือ คุณนิ่มซึ่งเป็นพี่สาวของ คุณทิป และเป็นบุตรตรีของท่านพระยาเกษมสงคราม เจ้าเมืองสวรรคโลก ต่อมาขุนเหล็กได้ควบคุมให้ทหารซ้อมกลศึกและสั่งให้ทหารนำไม้ไผ่ที่มีปลายแหลมปักลงดินแต่มีทหารนายหนึ่งขัดคำสั่งไม่นำปลายแหลมของไม่ไผ่ปักลงดิน ขุนเหล็กจึงสั่งให้เอาทหารนายนั้นไปตัดหัวเสียบประจารเนื่องจากไม่ยอมทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ด้วยความเที่ยงตรงและรอบรู้ทุกด้าน ต่อมาเมื่อ อัครมหาเสนาบดี อับดูร์ ลัคซัค ได้กระทำผิด โดยที่ไม่ได้ตั้งใจทำราชการอย่างจริงจัง กลับใช้อำนาจข่มแหงรังแกขุนนางน้อยใหญ่ชอบอวดอำนาจพกปืนไฟเป็นนิตย์หากไม่พอใจใครก็ใช้ปืนไฟสังหาร สมเด็ดพระนารายณ์จึงทรงให้นำไปลงทัณฐ์ แล้วแต่งตั้งให้ เจ้าคุณเหล็กเป็นพระยาโกษาธิบดีคนใหม่แทน ต่อมากรุงอังวะได้ยกทัพมาต่อตีกับทัพกรุงศรีอยุธยา โดยในครานั้นกองทัพกรุงศรีอโยธยามีเจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็ก เป็นแม่ทัพใหญ่ได้ต่อตีทัพอังวะพ่ายไปกลับไป ทัพพระยาสีหราชเดโชไชยที่ดักรออยู่ด้านหลังก็เข้าตีซ้ำ จนไพร่พลทัพหน้าของอังวะล้มตายเสียเป็นอันมาก เมื่อกองทัพเจ้าพระยาโกษาธิบดีแลทัพพระยาสีหราชเดโชไชยเข้ามาสมทบกันแล้ว จึงร่วมกันตามตีทัพอังวะไปจนถึงทัพหลวง มังสุรราชาแม่ทัพใหญ่พม่าจึงนำพลออกต่อสู้ แต่ด้วยไพร่พลเสียกระบวนทัพไปเสียแล้ว ประกอบกับมังสุรราชาถูกปืนไฟบาดเจ็บ กองทัพหลวงอังวะจึงแตกพ่าย เจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็กแลพระยาสีหราชเดโชไชยเห็นเป็นทีจึงเข้าตีซ้ำแลร่วมกันขับไล่กองทัพอังวะออกไปจนสุดขอบเขตขัณฑสีมา สมเด็ดพระนารายณ์ทรงโปรดให้เกณฑ์ไพร่พลจำนวนหกหมื่น ยกทัพขึ้นไปตีตอบโต้พม่าเยี่ยงสมเด็จพระบูรพกษัตริย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกระทำไว้เป็นแบบอย่าง ในครานั้นทรงโปรดให้กองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพไปเป็น๔ทาง คือ พระยารามเดโชคุมกองทัพเชียงใหม่ไปทางเมืองผาปูนทางหนึ่ง พระยากำแพงเพชรคุมกองทัพหัวเมืองเหนือยกไปทางด่านแม่ละเมาทางหนึ่ง เจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็กเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาสีหราชเดโชไชยเป็นแม่ทัพหน้า พระยาวิชิตภักดีคุมยกกระบัตรทัพ พระยาสุรินทรภักดีคุมทัพเกียกกาย แลพระยาสุรสงครามคุมทัพเป็นกองหลังยกไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทางหนึ่ง แลให้พระยาเกียรติแลสมิงพระราม คุมกองมอญยกไปทางเมืองทวาย เพื่อป้องกันมิให้เมืองทวายตีโอบหลังอีกทางหนึ่ง เจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็ก จึงเรียกให้กองทัพทั้งหมดมาประชุมทัพกันที่เมืองเมาะตะมะก่อนยกทัพเข้าตีเมืองรายทางจนสำเร็จแล้วยกทัพไปต่อตีเมืองอังวะ แต่เจ้าเมืองอังวะไม่ยอมออกมาต่อตีด้วย ไม่ว่าพระยาโกษาธิบดีเหล็กจักเขียนจดหมายไปท้ารบเพียงใดก็ไม่ยอมออกมา ท่านพระยาโกษาฯจึงได้สั่งทหารให้ล่าทัพกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ก่อนที่จะล่าทัพกลับนั้นท่านพระยาโกษาธิบดีเหล็กก็ได้ให้เชลยพม่า นำหนังสือของท่านอีกฉบับหนึ่งเข้าไปส่งในเมืองให้พวกพม่าอ่านเล่นกัน จักได้เข็ดขยาด มิกล้าตามไปต่อตีถึงกรุงศรีอโยธยาอีกต่อไป และหลังจากเสร็จการศึกในกรุงอังวะและคืนกรุงศรีอยุธยามาแล้ว พระยาโกษาธิบดีเหล็กทหารเอกแห่งพระนารายณ์ก็ได้พบหน้าบุตรชาย ซึ่งเกิดจากภรรยาคนเดียวคือ คุณหญิงนิ่ม และท่านได้กลับมารับราชการเป็นออกญาพระคลัง และกรุงศรีอโยธยาก็ปลอดจากการรุกรานของทัพพม่าต่อมาอีกเจ็ดสิบปี